วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ทัศนะศึกษานอกสถานที่ปรางสามยอดลพบุรีและพิพิธภัณเมืองอุดรธานี

หอนางอุษา




ผมเองหล่อไหมครับ









ตู้แสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์




ต่อปรางสามยอดที่ลพบุรีครับ










บริเวรรอบๆ พระปราง




พระพุทธรูป

















รถไฟเล่นผ่านประชาชนติดไฟแดง








ผมเองครับ นาย มนัส แก่นนอก (เซ โกโบล่า)







บริเวรข้างในพระปราง









ปรางสามยอดสมัยพระนารายมหาราช



























































































วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แผนการสอน

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ร่างกายมนุษย์ เวลา 20 ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ระบบย่อยอาหาร เวลา 2 ชั่วโมง
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

มาตรฐาน ว 1.1 : เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กันมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้
สาระสำคัญ
ระบบย่อยอาหาร คือการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของอาหารให้เล็กลง มีหน้าที่ย่อย และดูดซึมสารอาหาร เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกาย ระบบย่อยอาหารจะประกอบด้วย ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ จนถึงทวารหนักในที่สุด

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. บอกหน้าที่ของอวัยวะย่อยอาหารได้
2. อธิบายการทำงานของระบบย่อยอาหารได้
3. ป้องกันและบำรุงรักษาระบบย่อยอาหารได้
4. บอกประโยชน์ของอวัยวะระบบย่อยอาหารได้

สาระการเรียนรู้
1. หน้าที่ของอวัยวะย่อยอาหาร
2. การทำงานของระบบย่อยอาหาร
3. การป้องกันและบำรุงรักษาระบบย่อยอาหาร
4. ประโยชน์ของอวัยวะระบบย่อยอาหาร

กระบวนการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. นักเรียนดูรูปภาพเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ที่ครูนำมาเป็นสื่อประกอบการเรียนรู้และยกให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนซักถามสนทนาเกี่ยวกับภาพที่เห็น ครูคอยถามนำเพื่อโยงสู่สาระการเรียนรู้ เช่น ถามว่า
- ภาพที่เห็นคือส่วนใดของร่างกายบ้าง (ปาก ลำคอ ลำไส้เล็ก กระเพาะ ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก)
- ครูชี้ระบบย่อยแล้วถามว่า “อวัยวะส่วนนี้ทำหน้าที่อะไร” (ย่อยอาหาร)
- นักเรียนคิดว่าการย่อยอาหารจะเริ่มขึ้นที่ใด (ปาก)
- นักเรียนคิดว่าการย่อยอาหารจะสิ้นสุดที่ใด (ทวารหนัก)
- อาหารที่เหลือจากการย่อยแล้วจะไปเป็นอะไร (อุจจาระ)
- เมื่อเรารับประทานอาหารแล้ว อาหารจะไปรวมอยู่ที่ใดก่อน (กระเพาะอาหาร)
- วันนี้เราจะเรียนรู้เรื่อง “ระบบย่อยอาหาร”
2. ครูพูดชักนำเพื่อให้นักเรียนร่วมกันตั้งประเด็นปัญหา และในที่สุดก็ได้ประเด็นปัญหาว่า “เราจะทราบ ได้อย่างไรว่าการย่อยอาหารของร่างกายเรามีขั้นตอน กระบวนการอย่างไร”
ขั้นสอน
1. นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม แล้วเลือกประธาน กรรมการและเลขานุการกลุ่ม เพื่อทำหน้าที่ร่วมกันและต่างๆ กันไป
2. แต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนการศึกษา กำหนดเป้าหมายว่าจะต้องรู้อะไรจะไปหาความรู้ในเรื่องนี้ได้ที่ไหน จะไปสอบถามใคร เป็นต้น
3. แต่ละกลุ่มออกไปศึกษา หาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ใกล้ห้องเรียน เช่น ห้องสมุด มุมวิทยาศาสตร์ สอบถามจากผู้รู้ เป็นต้น แล้วจดบันทึกข้อมูลที่ได้รับ
4. แต่ละกลุ่มรับแจกใบความรู้ เรื่อง “ระบบย่อยอาหาร” เพื่อประกอบการเขียนรายงานหรือเป็นข้อมูลประกอบการสรุปองค์ความรู้ที่ได้ แล้วนำเสนอที่หน้าชั้นต่อไป
5. แต่ละกลุ่มรับแจกใบงานที่ 1 เรื่อง “หน้าที่และประโยชน์ระบบย่อยอาหาร” ใบงานที่ 2 เรื่อง “การทดลองการย่อยอาหารด้วยการเคี้ยว” ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่ปรากฏในใบงานเพื่อนำเสนอที่หน้าชั้นเรียนต่อไป
ขั้นสรุป
1. ตัวแทนกลุ่มนำเสนอรายงาน ข้อมูล ความรู้ที่ได้รับ และผลงานทำใบงานเพื่อให้กลุ่มอื่นแสดงความคิดเห็นต่อผลงาน
2. นักเรียนร่วมกันอธิบาย แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนอย่างหลากหลาย เพื่อนำสู่การสรุปสาระและองค์ความรู้ที่ได้รับ
3. นักเรียนช่วยกันสรุปองค์ความรู้ที่ได้ในครั้งนี้ โดยใช้ผลงานจากใบงาน รายงาน และรูปภาพอวัยวะระบบย่อยมาประกอบ ครูร่วมสรุป ซึ่งสรุปได้ว่า
“ระบบย่อยอาหาร คือการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของอาหารให้เล็กลง การย่อยอาหารในทางเดินอาหารมี 2 วิธีคือ หนึ่ง การย่อยเชิงกล เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของอาหารให้เล็กลงโดยการบดเคี้ยวของฟัน การบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหาร สอง การย่อยทางเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของอาหารให้เล็กลง โดยใช้น้ำย่อยเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้อาหาร มีโมเลกุลเล็กลงที่สุดที่สามารถดูดซึมไปเลี้ยงร่างกายได้”
4. จากข้อสรุปดังกล่าว ให้คนที่มีลายมือสวยเขียนข้อสรุปบนกระดาน แล้วทุกคนบันทึกลงในสมุดของตนเอง

สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1. รูปภาพอวัยวะภายในร่างกาย
2. แผ่นภาพอวัยวะภายในระบบย่อยอาหาร
3. ใบความรู้ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร
4. ใบงานที่ 1 เรื่อง หน้าที่และประโยชน์ระบบย่อยอาหาร
5. ใบงานที่ 2 เรื่อง การทดลองการย่อยอาหารด้วยการเคี้ยว
6. หนังสือเรียน เอกสารอ่านเพิ่มเติมที่มีในห้องสมุด / มุมวิทยาศาสตร์
7. แบบบันทึกกิจกรรม
8. ห้องเรียน
9. ห้องสมุด
10. มุมวิทยาศาสตร์

การวัดผลประเมินผล
1. วิธีการ
1.1 ประเมินการปฏิบัติกิจกรรม
1.2 สังเกตการตอบคำถาม ความสนใจและการแสดงความคิดเห็น
1.3 การทดสอบ
2. เครื่องมือวัดและประเมิน
2.1 แบบสังเกตพฤติกรรม
2.2 แบบวัดการปฏิบัติงาน
2.3 แบบทดสอบ
2.4 ใบงาน
3. เกณฑ์การวัดและประเมิน
3.1 แบบสังเกตพฤติกรรม เกณฑ์การผ่านร้อยละ 80
3.2 แบบทดสอบ เกณฑ์การผ่านร้อยละ 80
3.3 แบบการวัดการปฏิบัติงาน เกณฑ์การผ่านร้อยละ 80--

ข้อเสนอแนะของฝ่ายวิชาการ
……………………………….……………………………………………………………………...
………………………………………..…………………………………………………………….………...
………………………………………..…………………………………………………………….………...
………………………………………..…………………………………………………………….………...
………………………………………..…………………………………………………………….………...

ลงชื่อ.................................................ผู้ตรวจสอบ
(นาง ลำใย ศรีลาวงษ์)
หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
วันที่.............เดือน...................พ.ศ................

บันทึกความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของผู้บริหาร
……………………………….……………………………………………………………………...
………………………………………..…………………………………………………………….………...
………………………………………..…………………………………………………………….………...
………………………………………..…………………………………………………………….………...

ลงชื่อ.................................................ผู้ตรวจสอบ
(นาย พินิจ จำปาหอม)
ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลไชยวาน
วันที่.............เดือน...................พ.ศ................
บันทึกความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ.................................................ผู้ตรวจสอบ
( นาย ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิ์มหา)
วันที่.............เดือน...................พ.ศ................

บันทึกผลหลังการเรียนรู้
ผลที่เกิดกับผู้เรียน
………………………………………………………………………………………...
………..…………………………………………………………………………………………….……….…
………..…………………………………………………………………………………………….………...
ปัญหา/อุปสรรค
……………………………………………………………………....……………….
………..…………………………………………………………………………………………….………...
………..…………………………………………………………………………………………….………...

สิ่งที่ควรปรับปรุง
………………………………………………………………………………………..
………..…………………………………………………………………………………………….………...
………..…………………………………………………………………………………………….……….....

ลงชื่อ.................................................ผู้สอน
( นาย มนัส แก่นนอก )
วันที่.............เดือน...................พ.ศ.............






















ใบความรู้
เรื่อง “ระบบย่อยอาหาร”
ระบบย่อยอาหาร มีหน้าที่ย่อย และดูดซึมสารอาหาร เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกาย ระบบย่อยอาหารจะประกอบด้วย ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่การย่อยอาหารในทางเดินอาหาร มี 2 วิธีคือ
1. การย่อยเชิงกล เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของอาหารให้เล็กลง โดยการบดเคี้ยวของฟัน การบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหาร
2. การย่อยทางเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของอาหารให้เล็กลง โดยใช้น้ำย่อยเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้อาหารมีโมเลกุลเล็กที่สุดที่สามารถดูดซึมไปเลี้ยงร่างกายได้
การย่อยทางเคมีมีความแตกต่างกับการย่อยเชิงกล คือ นอกจากจะเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของอาหาร แล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลของสารอาหารด้วย
ภาพประกอบระบบย่อยอาหาร อวัยวะในระบบย่อยอาหาร
1. ปาก จะประกอบไปด้วย ฟัน ลิ้น คอหอย
ฟัน มีหน้าที่บดและเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ลักษณะของฟันจะเรียงอยู่ในขากรรไกร มีเหงือกเป็นเนื้อเยื่อนุ่มหุ้มอยู่ คนเราจะมีฟัน 2 ชุด ชุดแรกเป็นฟัน น้ำนม มี 20 ซี่ ชุดที่ 2 เรียกว่า ฟันแท้มี 32 ซี่
ลิ้น มีหน้าที่ในการคลุกเคล้าอาหาร ให้ผสมกับน้ำลายและช่วยในการกลืนอาหาร
คอหอย มีลักษณะเป็นท่ออยู่หลังหลอดลมและปาก เป็นทางผ่านให้อาหารลงสู่หลอดอาหารและยังเป็นที่อาหารและอากาศมาพบกัน
2. หลอดอาหาร เป็นอวัยวะที่อยู่ต่อจากช่องปากเชื่อมต่อกับกระเพาะอาหาร ผนังของหลอดอาหารมีหน้าที่บีบรัดอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร การบีบรัดของหลอดอาหารนี้เรียกว่า เพอริสตัสซิส ชึ่งทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง







3. กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่มีไว้สำหรับย่อยอาหาร โดยกระเพาะอาหารจะเกี่ยวข้องกับทางเดิน อาหารอยู่ตั้งอยู่ใต้กระบังลมทางด้านซ้ายของช่องท้อง กระเพาะของคนเรามีขนาด ประมาณ 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่ถ้ามีการทานอาหารมาก กระเพาะอาหารสามารถขยายได้อีก 10 - 40 เท่า กระเพาะอาหารมีตำแหน่งหูรูด 2 แห่ง คือหูรูดส่วนต้นที่ต่อกับหลอดอาหารและกล้ามเนื้อหูรูดที่ต่อกับลำไล้เล็ก กระเพาะของอาหารประกอบด้วยผนังหลายชั้น ชั้นในสุดจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยอาหาร ซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์เฟปซิน และกรดไฮโดรคลอริก เป็นส่วนประกอบ ขณะที่กระเพาะอาหารว่าง หรือมีการเคี้ยวอาหาร กระเพาะจะสร้างเอนไซม์ เฟปซิน และกรดไฮโดรคลอริกออกมาเล็กน้อย เพื่อเตรียมไว้สำหรับอาหารก้อนแรกที่ตกลงมาสู่ กระเพาะแต่ เมื่ออาหารลงสู่กระเพาะแล้ว กระเพาะอาหารจะสร้างสารที่ชื่อว่า เอนไซม์ เฟปซิน และกรดไฮโดรคลอริกมากขึ้น เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร สำหรับกรดไฮโดรคลอริกที่ปล่อยออกในกระเพาะจะมี ความเข้มข้นมาก โดยกรดนี้สามารถทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ หรืออาหารทุกชนิดที่อยู่ในกระเพาะได้ แต่สารนี้จะไม่ทำลายส่วนของผนังกระเพาะอาหาร เนื่องจากผนังเซลล์ของกระเพาะอาหาร จะฉาบด้วยเมือกเพื่อป้องกันการกัดของกรดไฮโดรคลอริก และเมื่อกรดรวมกับอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหาร จะทำให้กรดมีความเข้มลดลง จึงไม่สามารถทำลายกระเพาะอาหารได้ การทำงานของกระเพาะนี้จะทำงานเองอัตโนมัติ เมื่อถึงเวลาที่รับประทานอาหาร ดังนั้นถ้าเรารับประทานอาหารไม่ตรงเวลา จะทำให้มีการสร้างกรดไฮโดรคลอริก เพื่อใช้ย่อย อาหาร และเมื่อถึงเวลากระเพาะมีการสั่งให้ทำการบดอาหาร ทั้งๆ ที่ไม่มีอาหารในกระเพาะจึงทำให้กระเพาะเป็นแผลได้ บางครั้งการทำงานของกระเพาะอาหารไม่เป็นไปตามปกติ โดยกระเพาะจะปล่อยน้ำย่อยออกมามากในขณะที่กระเพาะอาหารยังไม่มีอาหาร น้ำย่อยจึงเข้าทำลายผนังกระเพาะอาหารทำให้เป็นแผลจะทำให้มีอาการเจ็บปวดมากและอุจจาระจะมีสีดำ
สารเอนไซม์เพปซิน ในกระเพาะอาหารจะมีหน้าที่ย่อยโปรตีนให้มีขนาดเล็กลง แต่ยังเล็กไม่พอ ที่ร่างกายจะดูดซึมเข้าไปใช้งานได้ ดังนั้นอาหารจึงถูกส่งต่อไปย่อยที่ลำใส้เล็ก เพื่อย่อยสารอาหารประเภท โปรตีน ให้เล็กพอที่จะใช้งานได้ สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และไขมันจะไม่มีการย่อยในกระเพาะอาหาร เนื่องจากในกระเพาะอาหารมีความเป็นกรดสูงมาก จึงไม่มีเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารสองประเภทนี้
4. ลำไส้เล็ก มีลักษณะเป็นท่อยาวต่อมาจากกระเพาะอาหาร โดยลำไส้เล็ก จะมีความยาวประมาณ 7 เมตร วางขดอยู่ในช่องท้อง ที่ผนังด้านในของลำไส้จะมีลักษณะเป็นปุ่มเล็กๆ จำนวนมากยื่นออกมา เพื่อให้ สัมผัสกับอาหาร ทำให้อาหารถูกย่อยได้เร็วขึ้น
การย่อยอาหารในลำไส้เล็กเกิดจาก การทำงานร่วมกันของเอนไซม์หลายชนิด จาก ผนังลำไส้ ตับอ่อน และตับ
1. ผนังลำไส้เล็ก ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์หลายชนิด แต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกัน
2. เอนไซม์มอลเทส ย่อยน้ำตาลมอลโทสให้เป็นน้ำตาลกลูโคส
3. เอนไซม์ซูเครส ย่อยน้ำตาลซูโครสให้เป็นน้ำตาลกลูโคสและฟรักโทส


4. เอนไซม์แล็กเทส ย่อยน้ำตาลแล็กโทสให้เป็นน้ำตาลกลูโคสและกาแล็กโทส
5. เอนไซม์อิเรพซิน ย่อยโปรตีนโมเลกุลให้เป็นกรดอะมิโน
ตับอ่อน จะสร้างเอนไซม์ ที่ใช้ในการย่อยอาหาร โดยจะส่งไปยังลำไส้เล็ก โดยในตับอ่อนจะมีการสร้างเอนไซม์ดังต่อไปนี้
1. เอนไซม์ไลเพส ใช้ในการย่อยไขมัน
2. เอนไซม์อะไมเลส ใช้ในการย่อยแป้ง
3. เอนไซม์ทริปซิน ใช้ในการย่อยโปรตีนโมเลกุลให้เป็นกรดอะมิโน
5. ลำไส้ใหญ่ จะมีหน้าที่ดูดซึมอาหาร แต่ที่ผนังลำไส้ใหญ่จะมีการดูดซึมอาหาร ประเภทแร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคส ออกจากกากอาหารเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้อาหารเหนียวและข้น เป็นก้อน จากนั้นจะเคลื่อนตัวไปรวมกันที่ลำไส้ใหญ่ส่วนที่เรียกว่า ลำไส้ตรง ที่เหนือทวารหนัก และจะถูกขับถ่ายออกมา เป็นอุจจาระต่อไป
การบำรุงรักษาและการป้องกันอวัยวะระบบย่อยอาหาร
ข้อควรปฏิบัติ
1. ควรรับประทานอาหารที่สะอาด มีประโยชน์ รสชาติไม่จัด ปรุงสุกใหม่
2. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
3. ขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา และควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว
4. ทำจิตใจให้เบิกบาน ร่าเริง พักผ่อนให้เพียงพอไม่เครียดจนเกินไป
5. มีสุขลักษณะในการรับประทานอาหารที่ดี
















ใบงานที่ 1

เรื่อง “หน้าที่และประโยชน์ระบบย่อยอาหาร”

ชื่อ .............................................................……….......... ชั้น ....................................................................
วันที่ .........ดือน.............................…............พ.ศ................. กลุ่ม .......................................................

คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนชื่ออวัยวะที่อยู่ในระบบย่อยอาหารพร้อมกับบอกหน้าที่และประโยชน์

ชื่ออวัยวะระบบย่อยอาหาร หน้าที่และประโยชน์
1. ............................................................................. ..............................................................................
............................................................................. ..............................................................................
2. ............................................................................. ..............................................................................
............................................................................. ..............................................................................
3. ............................................................................. ..............................................................................
............................................................................. ..............................................................................
4. ............................................................................. ..............................................................................
............................................................................. ..............................................................................
5. ............................................................................. ..............................................................................
............................................................................. .............................................................................
6. ............................................................................. ..............................................................................
............................................................................. .............................................................................
7. ............................................................................. ..............................................................................
............................................................................. .............................................................................
8. ............................................................................. ..............................................................................
............................................................................. .............................................................................





ใบงานที่ 2
เรื่อง “การทดลองการย่อยอาหารด้วยการเคี้ยว”
ชื่อ ........................................................................ ชั้น ...........................................................................
วันที่ ...................................................................... กลุ่ม .........................................................................
คำชี้แจง 1. นำอาหารที่สุกแต่ยังไม่ปรุงรสดังต่อไปนี้ ข้าวสุก เส้นขนมจีน ขนมปังจืด เผือกต้ม มาเคี้ยวแล้วอมไว้ในปากสักครู่ สังเกตแล้วบันทึกผล
2. เคี้ยวอาหารทีละอย่างในเวลาที่เท่ากันและปริมาณอาหารเท่าๆ กัน โดยต้องล้างปากให้สะอาดก่อนที่จะเคี้ยวอาหารชนิดอื่นต่อไป จากนั้นบันทึกผลลง
ตารางบันทึกผลตารางรสชาติของอาหารเมื่อเคี้ยวแล้วอมไว้ในปากสักครู่

อาหาร รสชาติของอาหารเมื่อเคี้ยวแล้วอมไว้ในปากสักครู่
ข้าวสุก ............................................................................................................................
ขนมปัง ...........................................................................................................................
เส้นขนมจีน ............................................................................................................................
เผือกต้ม .............................................................................................................................

1. อาหารชนิดใดบ้างเมื่อเคี้ยวแล้วอมสักครู่จะมีรสหวาน
..................................................................................................................................................................
2. อาหารชนิดใดบ้างเมื่อเคี้ยวแล้วอมสักครู่ไม่มีรสหวาน
..................................................................................................................................................................
3. อาหารที่เคี้ยวแล้วอมไว้สักครู่มีรสหวาน จัดเป็นอาหารประเภทใด
..................................................................................................................................................................
4. เพราะเหตุใด อาหารที่เคี้ยวแล้วอมไว้สักครู่ จึงมีรสหวานได้
..................................................................................................................................................................
5. จะสรุปผลการทดลองนี้ได้อย่างไร
..................................................................................................................................................................
6. ในปากมีการย่อยหรือไม่ เพราะอะไร
..................................................................................................................................................................
7. นักเรียนคิดว่าในปากเป็นการย่อยทางเคมีหรือไม่ อย่างไร
..................................................................................................................................................................
8. ในปากมีการย่อยเชิงกลหรือไม่ อย่างไร
..................................................................................................................................................................
9. การย่อยเชิงกลและการย่อยทางเคมีเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
..................................................................................................................................................................

แนวคำตอบใบงานที่ 1


ชื่ออวัยวะระบบย่อยอาหาร หน้าที่และประโยชน์
1. ปาก ใช้บดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง

2. หลอดอาหาร บีบรัดและบดอาหารให้มีขนาดเล็กลง ละเอียดขึ้น

3. กระเพาะอาหาร ย่อยอาหาร และดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย

4. ลำไส้เล็ก ย่อยอาหาร และดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย

5. ลำไส้ใหญ่ กักเก็บกากอาหารก่อนปล่อยออกเป็นอุจจาระ























แนวคำตอบใบงานที่ 2


อาหาร รสชาติของอาหารเมื่อเคี้ยวแล้วอมไว้ในปากสักครู่
ข้าวสุก หวาน
ขนมปัง หวาน
เส้นขนมจีน ไม่มีรสหวาน
เผือกต้ม หวาน

1. อาหารชนิดใดบ้างเมื่อเคี้ยวแล้วอมสักครู่จะมีรสหวาน
- ข้าวสุก ขนมปัง เผือกต้ม
2. อาหารชนิดใดบ้างเมื่อเคี้ยวแล้วอมสักครู่ไม่มีรสหวาน
- เส้นขนมจีน
3. อาหารที่เคี้ยวแล้วอมไว้สักครู่มีรสหวาน จัดเป็นอาหารประเภทใด
- แป้ง
4. เพราะเหตุใด อาหารที่เคี้ยวแล้วอมไว้สักครู่ จึงมีรสหวานได้
- เพราะเอนไซม์ในปากจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล
5. จะสรุปผลการทดลองนี้ได้อย่างไร
- ในปากก็มีการย่อยอาหารเกิดขึ้น
6. ในปากมีการย่อยหรือไม่ เพราะอะไร
- มี เพราะพอเคี้ยวอาหารแล้วอมไว้สักครู่อาหารจะมีรสหวาน
7. นักเรียนคิดว่าในปากเป็นการย่อยทางเคมีหรือไม่ อย่างไร
- เป็น
8. ในปากมีการย่อยเชิงกลหรือไม่ อย่างไร
- มี เพราะขนาดของอาหารมีขนาดเล็กลง
9. การย่อยเชิงกลและการย่อยทางเคมีเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
- ต่างกัน การย่อยเชิงกลขนาดของอาหารจะเล็กลง การย่อยทางเคมีจะมีการเปลี่ยนโมเลกุลของอาหาร







แบบทดสอบหลังเรียน

ตอนที่ 1 คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ระบบย่อยอาหารของคนเรามีอะไรบ้าง
..................................................................................................................................................................
2. น้ำลายมีประโยชน์อย่างไร
..................................................................................................................................................................
3. น้ำดีมีประโยชน์อย่างไร
..................................................................................................................................................................
4. กากอาหารที่ย่อยแล้วจะถูกขับออกทางส่วนใด
..................................................................................................................................................................
5. การย่อยอาหารจะเริ่มขึ้นที่ส่วนใดเป็นอันดับแรก
..................................................................................................................................................................
ตอนที่ 2 คำชี้แจง จงทำเครื่องหมาย x ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1. อวัยวะข้อใดเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร
ก. ตับ ข. ไต ค. ปอด ง. กระเพาะ
2. ข้อใดไม่เป็นการย่อยอาหารแบบเชิงกล
ก. การบดเคี้ยวของฟัน ข. การบีบตัวของกระเพาะ
ค. การบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหาร ง. การใช้น้ำย่อยที่กระเพาะ
3. ข้อใดเป็นการย่อยอาหารทางเคมี
ก. การบดเคี้ยวของฟัน ข. การบีบตัวของกระเพาะ
ค. การบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหาร ง. การใช้น้ำย่อยที่กระเพาะ
4. อวัยวะข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร
ก. ต่อมน้ำลาย ข. หลอดอาหาร ค. กระเพาะอาหาร ง. หัวใจ
5. อะไรทำให้การย่อยอาหารได้ดีขึ้น
ก. น้ำปัสสาวะ ข. น้ำดี ค. น้ำเลือด ง. น้ำตา
6. น้ำลายถูกผลิตในส่วนใด
ก. คอหอย ข. ต่อมน้ำลาย ค. ลิ้น ง. หลอดอาหาร
7. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของลิ้น
ก. คลุกเคล้าอาหารให้สัมผัสกับน้ำลาย ข. ช่วยในการกลืนอาหารจากคอหอย
ค. สร้าง น้ำย่อย ง. รับรู้รสของอาหาร
8. ข้อใดเป็นลักษณะของคอหอย
ก. คลุกเคล้าอาหารให้สัมผัสกับน้ำลาย ค. เป็นท่ออยู่หลังหลอดลมและปาก เป็นที่อาหารและลมมาพบกัน
ข. ช่วยในการกลืนอาหารจากคอหอย ง. รับรู้รสของอาหาร
9. อาหารจะถูกดูดซึมเข้าร่างกายบริเวณใด
ก. ลิ้น ข. ปาก ค. หลอดอาหาร ง. กระเพาะอาหาร
10. ข้อใดเป็นลักษณะของกระเพาะอาหาร
ก. ลักษณะเป็นท่อขดไปมา ยาวประมาณ 6 - 8 เมตร
ข. ลักษณะเป็นท่อหนา ติดกับช่องทวารหนัก
ค. ลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่ ผนังด้านในเป็นรอยย่น
ง. เป็นท่ออยู่หลังหลอดลมและปากเป็นที่อาหารและลมมาพบกัน
11. หน้าที่ของลำไส้เล็ก คือ
ก. ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วเข้าสู่กระแสเลือด
ข. สังเคราะห์วิตามิน น้ำที่อยู่ในกากอาหาร
ค. บีบตัวให้อาหารคลุกเคล้ากับน้ำย่อย
ง. เคี้ยวและบดอาหารให้ละเอียด
12. ข้อใดเป็นลักษณะของลำไส้ใหญ่
ก. ลักษณะเป็นท่อขดไปมา ยาวประมาณ 6 - 8 เมตร
ข. ลักษณะเป็นท่อหนา ติดกับช่องทวารหนัก
ค. ลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่ ผนังด้านในเป็นรอยย่น
ง. เป็นท่ออยู่หลังหลอดลมและปาก เป็นที่อาหารและลมมาพบกัน
13. ข้อใดคือลักษณะของไส้ติ่ง
ก. ลักษณะเป็นท่อขดไปมา ยาวประมาณ 6 - 8 เมตร
ข. ลักษณะเป็นหลอดปลายตันที่ต่อยื่นออกมาจากลำไส้ใหญ่ส่วนต้น
ค. ลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่ ผนังด้านในเป็นรอยย่น
ง. เป็นท่ออยู่หลังหลอดลมและปาก เป็นที่อาหารและลมมาพบกัน
14. การกำจัดกากอาหารออกจากร่างกายสามารถขับออกได้ทางใด
ก. ทวารหนัก ข. ผิวหนัง
ค. ไส้ติ่ง ง. ลำไส้ใหญ่
15. หน้าที่ของตับอ่อนคือ
ก. ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วเข้าสู่กระแสเลือด
ข. สังเคราะห์วิตามิน น้ำที่อยู่ในกากอาหาร
ค. สร้าง เอนไซม์ ที่ใช้ในการย่อยอาหาร
ง. เคี้ยวและบดอาหารให้ละเอียด

เฉลยแบบทดสอบ
ตอนที่ 1
1. ปาก กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก
2. ช่วยย่อยอาหารที่ปาก และคลุกเคล้าอาหารให้เข้ากัน
3. ช่วยย่อยอาหาร
4. ทวารหนัก
5. ปาก
ตอนที่ 2 1. ง 2. ง 3. ง 4. ง 5. ข
6. ข 7. ค. 8. ค 9. ง 10. ค
11. ก 12. ข 13. ข 14. ก 15. ค

เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน

รายการ ระดับคะแนน เกณฑ์
ตอบถูกต่ำกว่า 6 ข้อ 1 อ่อนมาก
ตอบถูก 6 - 7 ข้อ 2 อ่อน
ตอบถูก 8 - 9 ข้อ 3 พอใช้
ตอบถูก 10 - 12 ข้อ 4 ดี
ตอบถูก 13 - 15 ข้อ 5 ดีมาก








แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่อง “ระบบย่อยอาหาร”
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องระบบย่อยอาหาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
.....................................................................................................................................................................
คำชี้แจง ครูสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการทำกิจกรรมตามที่กำหนดและให้คะแนนลงในช่องที่ตรงกับพฤติกรรมของนักเรียน
เกณฑ์การประเมิน ผู้ผ่านการประเมิน ต้องได้คะแนนรวมร้อยละ 80 ขึ้นไป





เลขที่





ชื่อ - สกุล
มีความสนใจในการทำงาน


มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
ยอมรับฟังความคิดเห็นขอผู้อื่น
ตั้งใจทำงาน
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ตรงต่อเวลา




รวม




สรุปผล
การประเมิน
4
4
4
4
4
4
24
ผ่าน
ไม่ผ่าน
1










2










3










4










5










6










7










8










9










10










11










12










13










14










15










16










ผู้ผ่านเกณฑ์การประเมิน ต้องได้คะแนนตั้งแต่ 20 คะแนนขึ้นไป
ลงชื่อ .................................. ผู้ประเมิน
(.........................................)
รายละเอียดเกณฑ์การให้คะแนนแบบสังเกตการทำกิจกรรม (rubrics)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียน ...................................................... ภาคเรียนที่ ................... ปีการศึกษา .............................
ประเด็น
การประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
4
3
2
1
1.มีความสนใจการทำงาน

1. มีความสนใจ
2. มีความตั้งใจ
3.ไม่หยอกเล่นกับ
คนอื่น
4. มีความกระตือรือร้น
บกพร่องข้อใดข้อหนึ่งในจำนวน 4 ข้อ
บกพร่องจำนวน 2 ข้อในจำนวน 4 ข้อ
บกพร่อง 3 ข้อในจำนวน 4 ข้อ
2.ความรับผิดชอบต่อหน้าที่

ทุกคนทำหน้าที่ และความรับผิดชอบต่อ
หน้าที่ของตนเอง
มีผู้ที่มีหน้าที่ แต่ไม่รับผิดชอบ 1 คน

มีผู้ที่มีหน้าที่ แต่ไม่รับผิดชอบ 2 คน

มีผู้ที่มีหน้าที่แต่ไม่รับผิดชอบ 3 คน
3.ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นกับผู้อื่นอย่างดี
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเป็นส่วนใหญ่

ยอมรับฟังความคิด
เห็นของผู้อื่นเป็นบางครั้ง
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นน้อยมาก
4. ตั้งใจทำงาน

มีความตั้งใจทำงานอย่างดีเยี่ยม
มีความตั้งใจทำงานอย่างดี
มีความตั้งใจทำงานพอใช้
ไม่มีความตั้งใจทำงานขาดความรับผิดชอบ
5. ความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แปลกใหม่
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มาก
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์น้อย
ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
6. ตรงต่อเวลา

ทำงานเสร็จทันเวลา
ทำงานเสร็จช้ากว่าเวลาที่กำหนดไม่เกิน5 นาที
ทำงานเสร็จช้ากว่ากำหนดไม่เกิน10 นาที
ทำงานไม่เสร็จทันเวลากำหนด
แบบประเมินผลงาน / การทดลอง เรื่อง “ระบบย่อยอาหาร”
แบบประเมินผลงานของกลุ่มที่ .................................................... ประเมินผลงานกลุ่มอื่นๆ


กลุ่มที่





ชื่อ-สกุล
เลขที่ในชั้น
การทดลอง
ผลการทดลอง
คุณลักษณะที่พึงประสงค็
(8)
(12)
(10)

สมาชิก
ลำดับที่
การทดลองและการใช้อุปกรณ์
การเก็บรักษาอุปกรณ์
การจัดกระทำข้อมูล
ความถูกต้องของข้อมูล
การแปลความหมายข้อมูลและสรุปผล
ความซื่อตรง
ความร่วมมือในกรทำงาน
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ตรงต่อเวลา
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
มีความอยากรู้อยากเห็น
ตั้งใจทำงาน
ความละเอียดรอบคอบ
สามารถแก้ปัญหาได้
พึ่งตนเองในการทำงาน



4
4
4
4
4
1
1
1
1
1
1
1
1
1
1
1

















1

















2

















3

















4

















2

















1

















2

















3

















4

















3

















1

















2

















3

















4

















รายละเอียดเกณฑ์การให้คะแนนแบบประเมินผลงาน / ทดลอง (rubrics)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ประเด็น
การประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
4
3
2
1
1.การทดลอและ
การใช้อุปกรณ์
เมื่อดำเนินการทดลองตามแผนทุกขั้นตอนและใช้อุปกรณ์ถูกวิธี
เมื่อดำเนินการทดลองตามแผนทุกขั้นตอนและใช้อุปกรณ์ผิดบ้าง
เมื่อมีการปรับแผนการทดลองทดลองบ้างและใช้อุป-กรณ์ไม่ค่อยถูกวิธีเล็กน้อย
เมื่อดำเนินการ
โดยไม่คำนึงถึงแผนเลยหรือใช้อุปกรณ์ไม่ถูกวิธีเป็นส่วนใหญ่
2. การเก็บรักษา
อุปกรณ์
เมื่อทำความสะอาดอุปกรณ์เช็ดให้แห้งเก็บรักษาเป็นระเบียบอุปกรณ์อยู่ในภาพดี
เมื่อทำความสะอาดอุปกรณ์เก็บรักษาไม่เป็นระเบียบอุปกรณ์อยู่ในภาพดี
เมื่อเก็บรักษาโดยไม่ได้ดูความเรียบร้อยของอุปกรณ์
เมื่อต้องเตือนให้เก็บรักษาอุปกรณ์หรือทำอุปกรณ์ชำรุดโดยประมาท
3. ความถูกต้อง
ของข้อมูล
เมื่อบันทึกข้อมูลครบถ้วนและถูกต้อง
เมื่อบันทึกข้อมูลครบถ้วน มีความผิดพลาดเล็กน้อย
เมื่อบันทึกข้อมูลไม่ครบถ้วน และมีผิดพลาด
เมื่อบันทึกข้อมูลผิดพลาดมากต้องคอยบอกให้แก้ไข
4.การจัดกระทำ
ข้อมูล




เมื่อนำเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางที่เหมาะสมหรือมีขั้นตอนที่เข้าใจง่าย
เมื่อนำเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางหรือมีขั้นตอนที่ไม่ค่อยชัดเจน
เมื่อนำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นระบบเข้าใจยาก
เมื่อนำเสนอข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน
5.การแปลความ
หมาย และสรุป
ผลการทดลอง
เมื่อสรุปผลการทดลองสอดคล้องกับจุดประสงค์ครบถ้วนแปลความหมายถูกต้อง
เมื่อสรุปผลการทดลองสอดคล้องกับจุดประสงค์ครบถ้วนแต่แปลความหมายผิดบ้าง
เมื่อสรุปผลการทดลองสอดคล้องกับจุดประ-สงค์ไม่ครบถ้วนหรือแปลความหมายผิดพลาด
เมื่อสรุปผลการทดลองไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์หรือผิดหมดหรือสรุปไม่ได้
6.คุณลักษณที่
พึงประสงค์


-


-


-
เมื่อมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้ 1คะแนนถ้าไม่มีให้ 0 คะแนน